วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

สัปดาห์นี้อาจารย์ยก  Class ไปเรียนรวมกับวิชาศิลปะ

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


สัปดาห์นี้ อาจารย์สอบเก็บคะแนน เพื่อวัดความรู้ในเนื้อหาที่เรียนมา และเพื่อเป็นการฝึกไหวพริบในการตอบคำถามของนักศึกษา





วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้เรียนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้วคือ เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ วันนี้เรียนในหัวข้อที่ 3 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

ให้เด็กเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระมากที่สุด คือ ให้เด็กได้ทำคนเดียว เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัวหรือกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
ทำให้เด็กอยากช่วยเหลือตัวเอง อยากทำงานตามความสามารถ เด็กเขาจะเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่ ดังนั้นครูต้องจับคู่ให้เด็กพิเศษได้อยู่กับเด็กที่เก่งๆ

ความสำเร็จ
ความสำเร็จเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ การที่เด็กทำอะไรได้ด้วยตนเองทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจและเขาก็อยากจะทำสิ่งนั้น  ทำให้เขาเชื่อมั่นในตนเองและได้เรียนรู้ว่าความรู้สึกที่ดีเป็นยังไง

หัดให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง
    ไม่ควรช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น (ต้องใจแข็ง) เพราะผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เอง เราต้องให้เวลาเขา และไม่คววรพูดว่า "หนูทำช้า"   "หนูทำยังไม่ได้" และถ้าเด็กมาขอความช่วยเหลือเรื่องอะไรก็ควรทำให้แค่ตามที่เขาขอ ไม่ควรเลยเถิด

จะช่วยเด็กได้เมื่อไหร่
       เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้วเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการมักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
แบ่งทักาะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป

ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



                                                    กิจกรรมหลังการเรียน
                     
                                                            ต้นไม้รวมใจ

 



อุปกรณ์

-  สีเทียน
-  กระดาษร้อยปอนด์


วิธีดำเนินกิจกรรม

แจกกระดาษให้เด็กคนละ 1 แผ่น ให้ใช้สีเทียนวนเป็นรูปวงกลม  โดยเริ่มจากวงเล็กๆ กลางกระดาษโดยใช้สีตามใจชอบ 

     กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่จะสะท้อนอารมณ์และนิสัยของเด็กแต่ละคนได้ว่ามมีนิสัยเป็นอย่างไร  โดยสังเกตจากการใช้สี


หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ก็สอนร้องเพลง 5 เพลง ดังนี้

เพลง  นกกระจิบ

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

นั่นนก  บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  67 8 9 10 ตัว

เพลง  เที่ยวท้องนา

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน


ฉันท่องเที่ยวไป  
ผ่านตามท้องไร่ทองนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว  6 7 8 9 10 ตัว

เพลง แม่ไก่ออกไข่

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วัน ไข่ได้ 1 ฟอง

เพลง  ลูกแมว 10 ตัว

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมวอีก 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ็อก บ็อก
 แมวก็ร้อง เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ 

(ซ้ำ *)

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


การเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
•เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
ถามหาสิ่งต่างๆไหม
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/การพูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
ติดอ่าง

การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
ข้อนี้ก็สำคัญในการฝึกทักษะของเด็ก ดังนั้นครูหรือผู้ปกครองควรทำตามหัวข้อต่อไปนี้
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด” 
อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
 -  ทักษะการรับรู้ภาษา
 -  การแสดงออกทางภาษา
 -  การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด


พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
















พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูดคอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

                                                     กิจกรรมหลังการเรียนการสอน
                                                            ลากเส้นตรงต่อเติมสี

                                                               


อุปกรณ์
-กระดาษร้อยปอนด์
-สีเทียน

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
    ให้เด็กจับคู่กัน ครูอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรมแล้วค่อยแจกอุปกรณ์ให้เด็ก โดยแจกสีเทียนเด็ก
คนละ 1 เท่ง ให้เด็กลากเส้นตรง ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมครูก็จะเปิดเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย
สบายๆ  ให้เด็กลากเส้นไปเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะจบ หลังจากที่เด็กแต่ละคนลากเส้นตัดกันไปมากับเพื่อนก็จะมีช่องว่างเกิดขึ้น ให้เด็กช่วยกันระบายสีตามช่อง ดังภาพค่ะ

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ในสัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียน จึงได้ศึกษาเนื้อหาจากใบความรู้และBlogger  ของนางสาวพัชราวรรณ วารี
นางสาวอังสุพรรณ เพียรขุนทด ค่ะ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะทางสังคม
-          เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-          การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

  กิจกรรมการเล่น

   การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
   เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
   ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง 

ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง  ครูจดบันทึกและทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
                    วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
                    คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
                    ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
                    เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ

การปฎิบัติตัวของครูขณะเด็กเล่น

         อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู   ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็ก

มากเกินไปเอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่นให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

      ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อนทำโดย การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
                    ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
                    การให้โอกาสเด็ก
                    เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
                    ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

  อาจารย์ให้เพื่อนๆ ทำกิจกรรมบำบัด โดยให้จับคู่กันคนนึงสมมุติเป็นเด็กพิเศษ อีกคนเป็นเด็กปกติ
แจกสีเทียนคนละ 1 แท่ง โดยให้เด็กคนนึงลากเส้น อีกคนทำเป็นจุด ขณะที่ทำกิจกรรม อาจารย์ก็เปิดเพลงไปด้วยเป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องมีแต่เสียงดนตรี เพลง Happy relaxing Guitar music for children




จากกิจกรรมนี้เด็กจะได้ฝึกสมาธิ เกิดทักษะทางสังคมช่วยให้เรียนรู้ทักษะสังคมผ่านการทำกิจกรรมศิลปะร่วมกันเป็นกลุ่ม รู้จักการรอคอย ผลัดกันทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังเรียนรู้ที่จะแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความต้องการของตนเอง และการเข้าใจผู้อื่น โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ


จากนั้นอาจารย์ก็สอนให้นักศึกษาร้องเพลง 6 เพลง ดังนี้ 

เพลง ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสง
เป็นประกายทองเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์

ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย    สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา  แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลง ดอกมะลิ

ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งทำใช้ยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง  กุหลาบ

กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ

รำวง  รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย


ความรู้เพิ่มเติม

กิจกรรมบำบัด คืออะไร
"กิจกรรมบำบัด" หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการเกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจ ประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ โดยการนำกิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด
ถือได้ว่ากิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพหนึ่งในกลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพที่ดูแล เกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยสูงอายุ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม การป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการให้คำปรึกษา แก่ผู้มารับบริการ ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ใครบ้างที่ควรมาพบนักกิจกรรมบำบัด ?
1. เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการบกพร่อง เช่น เด็กสมองพิการ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กดาวน์ซินโดรม    เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เป็นต้น โดยการบำบัดตั้งแต่ปัญหาการดูดน้ำนม การกลืน การกิน การพัฒนากล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว การสื่อสาร การทำกิจวัตรประจำวัน การเข้าสังคม ทักษะการเรียน การดัดแปลงอุปกรณ์เครื่องช่วยเพื่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน หรือการละเล่น ได้สะดวกขึ้น ตลอดจนอุปกรณ์เพื่อการเคลื่อนย้ายตนเอง
2. ผู้ที่หย่อนสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
-กลุ่มทางระบบโครงสร้างของร่างกายและกล้ามเนื้อ เช่น โรครูมาตอยด์ กระดูกหัก กระดูกพรุน โรคกล้ามเนื้อต่างๆ การตัดแขน-ขา ผู้ที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นต้น

-กลุ่มโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ อุดตัน การได้รับบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุต่างๆ โรคพาร์คินสัน เป็นต้น

-กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่มือ แขน อันเป็นสาเหตุให้มีการทำงานบกพร่องไปของเส้นประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก

-ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและเมตาบอลิซึมของร่างกาย ผู้ป่วยประเภทนี้อาจไม่มีความพิการ แต่มีการอ่อนแอของสภาพร่างกายโดยทั่วไป เช่น เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น

3. ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาการเจ็บป่วยหรือมีความบกพร่องด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื่อมความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การรับรู้ การเรียนรู้และความเข้าใจ ทำให้สูญเสียหน้าที่หรือมีความยากลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การทำงานและกิจกรรมนันทนาการ สาเหตุเนื่องมาจากโรค/อุบัติเหตุ/ กลุ่มอาการความผิดปกติ ได้แก่ สมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์คินสัน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคความจำเสื่อม โรคข้อ เป็นต้น
4. ผู้มีภาวะบกพร่องทางสุขภาพจิตและสังคม มักมีปัญหาหรือความบกพร่องทางด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตสังคม ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การเรียนรู้และทักษะทางสังคม เนื่องมาจากโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน โรคจิตเภท ติดยาเสพติด ติดเหล้า เครียด มีความผิดปกติทางพฤติกรรม