วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ในสัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียน จึงได้ศึกษาเนื้อหาจากใบความรู้และBlogger  ของนางสาวพัชราวรรณ วารี
นางสาวอังสุพรรณ เพียรขุนทด ค่ะ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะทางสังคม
-          เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-          การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

  กิจกรรมการเล่น

   การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
   เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
   ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง 

ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง  ครูจดบันทึกและทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
                    วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
                    คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
                    ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
                    เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ

การปฎิบัติตัวของครูขณะเด็กเล่น

         อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู   ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็ก

มากเกินไปเอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่นให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

      ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อนทำโดย การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
                    ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
                    การให้โอกาสเด็ก
                    เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
                    ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

  อาจารย์ให้เพื่อนๆ ทำกิจกรรมบำบัด โดยให้จับคู่กันคนนึงสมมุติเป็นเด็กพิเศษ อีกคนเป็นเด็กปกติ
แจกสีเทียนคนละ 1 แท่ง โดยให้เด็กคนนึงลากเส้น อีกคนทำเป็นจุด ขณะที่ทำกิจกรรม อาจารย์ก็เปิดเพลงไปด้วยเป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องมีแต่เสียงดนตรี เพลง Happy relaxing Guitar music for children




จากกิจกรรมนี้เด็กจะได้ฝึกสมาธิ เกิดทักษะทางสังคมช่วยให้เรียนรู้ทักษะสังคมผ่านการทำกิจกรรมศิลปะร่วมกันเป็นกลุ่ม รู้จักการรอคอย ผลัดกันทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังเรียนรู้ที่จะแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความต้องการของตนเอง และการเข้าใจผู้อื่น โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ


จากนั้นอาจารย์ก็สอนให้นักศึกษาร้องเพลง 6 เพลง ดังนี้ 

เพลง ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสง
เป็นประกายทองเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์

ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย    สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา  แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลง ดอกมะลิ

ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งทำใช้ยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง  กุหลาบ

กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ

รำวง  รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย


ความรู้เพิ่มเติม

กิจกรรมบำบัด คืออะไร
"กิจกรรมบำบัด" หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการเกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจ ประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ โดยการนำกิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด
ถือได้ว่ากิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพหนึ่งในกลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพที่ดูแล เกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยสูงอายุ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม การป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการให้คำปรึกษา แก่ผู้มารับบริการ ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ใครบ้างที่ควรมาพบนักกิจกรรมบำบัด ?
1. เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการบกพร่อง เช่น เด็กสมองพิการ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กดาวน์ซินโดรม    เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เป็นต้น โดยการบำบัดตั้งแต่ปัญหาการดูดน้ำนม การกลืน การกิน การพัฒนากล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว การสื่อสาร การทำกิจวัตรประจำวัน การเข้าสังคม ทักษะการเรียน การดัดแปลงอุปกรณ์เครื่องช่วยเพื่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน หรือการละเล่น ได้สะดวกขึ้น ตลอดจนอุปกรณ์เพื่อการเคลื่อนย้ายตนเอง
2. ผู้ที่หย่อนสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
-กลุ่มทางระบบโครงสร้างของร่างกายและกล้ามเนื้อ เช่น โรครูมาตอยด์ กระดูกหัก กระดูกพรุน โรคกล้ามเนื้อต่างๆ การตัดแขน-ขา ผู้ที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นต้น

-กลุ่มโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ อุดตัน การได้รับบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุต่างๆ โรคพาร์คินสัน เป็นต้น

-กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่มือ แขน อันเป็นสาเหตุให้มีการทำงานบกพร่องไปของเส้นประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก

-ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและเมตาบอลิซึมของร่างกาย ผู้ป่วยประเภทนี้อาจไม่มีความพิการ แต่มีการอ่อนแอของสภาพร่างกายโดยทั่วไป เช่น เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น

3. ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาการเจ็บป่วยหรือมีความบกพร่องด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื่อมความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การรับรู้ การเรียนรู้และความเข้าใจ ทำให้สูญเสียหน้าที่หรือมีความยากลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การทำงานและกิจกรรมนันทนาการ สาเหตุเนื่องมาจากโรค/อุบัติเหตุ/ กลุ่มอาการความผิดปกติ ได้แก่ สมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์คินสัน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคความจำเสื่อม โรคข้อ เป็นต้น
4. ผู้มีภาวะบกพร่องทางสุขภาพจิตและสังคม มักมีปัญหาหรือความบกพร่องทางด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตสังคม ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การเรียนรู้และทักษะทางสังคม เนื่องมาจากโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน โรคจิตเภท ติดยาเสพติด ติดเหล้า เครียด มีความผิดปกติทางพฤติกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น