วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ก่อนจะเข้าเนื้อหาในรายวิชา  อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม  "วาดภาพมือตัวเอง"    โดยอาจารย์จะแจกถุงมือให้คนละ 1 ข้าง   แล้วสวมถุงมือไปในข้างที่ไม่ถนัด   จุดประสงค์ของกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษารู้จักเป็นคนหัดสังเกต
โดยเอามือของเราที่วาดไปเปรียบเทียบกับเด็กเพราะถ้าเราไปเป็นครูในอนาคต เราก็ต้องอยู่กับเด็กทุกวัน  เราควรสังเกตพฤติกรรมของเด็กไปพร้อมๆกับการจดบันทึก  เพราะเราไม่สามารถจำรายละเอียดของเด็กได้ อาจจะจำได้บ้างไม่ได้บ้าง  ก็เหมือนมือ  มืออยู่กับเราทุกวัน  ทุกเวลาตั้งแต่เกิด แต่พอสวมถุงมือทับไป เราก็ไม่สามารถวาดหรือจำรายละเอียดต่างๆของมือได้ครบถ้วน  พฤติกรรมของเด็กก็เช่นเดียวกัน   






เนื้อหาวิชาที่เรียนในวันนี้

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ


ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพิ่มเติม

 อบรมระยะสั้น , สัมมนา

สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ

• เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง

 ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ

 รู้จักเด็กแต่ละคน

 มองเด็กให้เป็น เด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

  การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก

 วุฒิภาวะ

 แรงจูงใจ

 โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ

 ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม

 เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น

 สอนจากปัญหาที่เกิดในเวลาที่เด็กทำกิจกรรม

 จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กวิ่งเข้ามาหาในจังหวะที่มีปัญหา



ตารางประจำวัน

    เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ

    กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้

    เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

    การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ

   คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

    เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ

    เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

     เด็กทุกคนสอนได้


เทคนิคการให้แรงเสริม

ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก   มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผล

ในทันทีหากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป


วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่

    ตอบสนองด้วยวาจา

   การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก

   พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง

   สัมผัสทางกาย

  ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก




ตัวอย่างการเสริมแรง

หลังเรียนเนื้อหาจบอาจารย์ก็ให้ทำ Post  test โดยตอบคำถามที่ละกลุ่ม




และก็ร้องเพลงทบทวนเพลงจากสัปดาห์ที่แล้ว



เพลง ฝึกกายบริหาร
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


เพลง ผลไม้

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ส้มโอ  แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำใย  องุ่น  พุทรา
เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
กล้วย  ละมุุด  น้อยหน่า
ขนุน  มะม่วง นานาพันธุ์


เพลง กินผักกัน

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

กินผักกันเถอะเรา
บวบ  ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว  แตงกวา
คะน้า  กวางตุ้ง  ผักบุ้ง  โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กหล่ำปลี


เพลง ดอกไม้

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดสี
เหลือง  แดง  ม่วงมี แสด  ขาว ชมพู


เพลง จ้ำจี้ดอกไม้

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ พิกุล
กุหลาบ  ชบา บานชื่น  กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา  เฟื่องฟ้า  ราตรี
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น