วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ชั่วโมงนี้อาจรย์เริ่มต้นการเรียนการสอน ด้วยการให้วาดภาพดอกบัว ซึ่งอาจารย์ได้มีภาพตัวอย่างมาให้ ให้วาดให้เหมือนที่สุด พร้อมอธิบายสิ่งที่เห็นในภาพ ตามภาพต่อไปนี้.....


      และนี่คือผลงานของดิฉัน และสิ่งที่ดิฉันเห็นในภาพคือ กลีบของดอกบัวแต่ละกลีบมีขนาด  สี และลักษณะ
ที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็สามารถอยู่ด้วยกัน  รวมกันเป็นดอกเดียวกันได้
                                                         


และเริ่มเข้าสู่บทเรียน ในเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม   

ครูไม่ควรวินิจฉัย

  • การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • ไม่ควรวินิจฉัยจากอาการที่แสดงออกมา อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

  เพราะจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี  ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไปและเด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ  มักจะทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง  เท่ากับเป็นารบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย (ต้องมีเทคนิคในการพูด)
  • สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ (จำเป็นมากๆ)
  • จดบันทึกพฤตืกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ

  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ และเห็นในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า  ต่างจากแพทย์  นัจิตวิทยา  นักคลีนิกมักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา  โดยไม่ได้เห็นภาพรวมเหมือนครู

การตรวจสอบ

  • จะได้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • สามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ

  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกแบบต่อเนื่อง

เป็นการรบึนทึกที่ดีที่สุด สำหรับเด็กพิเศษ
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลานึง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่งจนเสร็จ
  • ไม่ต้องเข้าไปให้คำแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกแบบไม่ต่อเนื่อง

  • บันทกลงบัตรเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

ตัวอย่างการบันทึกรูปแบบต่างๆ




เมื่อเรียนจบบทเรียน อาจารย์และนักศึกษาก็ร่วมกันร้องเพลง 5 เพลง



พลง ฝึกกายบริหาร
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


เพลง ผลไม้

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ส้มโอ  แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำใย  องุ่น  พุทรา
เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
กล้วย  ละมุุด  น้อยหน่า
ขนุน  มะม่วง นานาพันธุ์


เพลง กินผักกัน

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

กินผักกันเถอะเรา
บวบ  ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว  แตงกวา
คะน้า  กวางตุ้ง  ผักบุ้ง  โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กหล่ำปลี


เพลง ดอกไม้

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดสี
เหลือง  แดง  ม่วงมี แสด  ขาว ชมพู


เพลง จ้ำจี้ดอกไม้

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ พิกุล
กุหลาบ  ชบา บานชื่น  กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา  เฟื่องฟ้า  ราตรี
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น