วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับในวันนี้ คือเรื่องของการเขียนโปรแกรมเฉพาะบุคคลหรือเรียกแบบย่อ ๆ ว่า แผน IEP
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

          แผน IEP

-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

  การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

   IEP ประกอบด้วย

-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

   ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

  การกำหนดจุดมุ่งหมาย

-ระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

-ระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

     เมื่อจบเนื้อหา อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อฝึกเขียนแผน IEP 






                                                         ****ปิดคอสแล้วววววว*****

              หนูสัญญาว่าจะทบทวนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากสุดและหนูดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์ เพราะอาจารย์เป็นคนน่ารัก มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา คอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอด  สนใจในทุกรายละเอียดของนักศึกษาทุกคนทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน พวกหนูรักอาจารย์นะคะ







คร้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


สัปดาห์นี้เรียนเนื้อหาในเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ


  การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ


ทักษะพื้นฐานทางการเรียนมีเป้าหมาย ดังนี้

                  1. การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 

                  2. มีความรู้สึกดีต่อตนเอง

                  3. เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้

                  4. พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

                  5. อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

                  - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ

                 -  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

                  - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่

                  - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่

                  - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่



การรับรู้และการเคลื่อนไหว


            ถ้าเด็กได้ยิน  ได้เห็น  ได้สัมผัส  ได้ลิ้มรส  ได้กลิ่น  เด็กก็จะมีการตอบสนองได้อย่างหมาะสม


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก  กิจกรรมศิลปะ    มุมบ้าน และการช่วยเหลือตนเอง






ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

                  - ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่

                   - รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

                  - บล็อกไม้

                  - อุปกรณ์ฝึกร้อยเชือก










ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

   จัดกลุ่มเด็ก

   เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ

   ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

    ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง

   ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
    บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
   พูดในทางที่ดี
   จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
   ทำบทเรียนให้สนุก

    บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด

    รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน

   มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ

   เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง










วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

สัปดาห์นี้อาจารย์ยก  Class ไปเรียนรวมกับวิชาศิลปะ

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


สัปดาห์นี้ อาจารย์สอบเก็บคะแนน เพื่อวัดความรู้ในเนื้อหาที่เรียนมา และเพื่อเป็นการฝึกไหวพริบในการตอบคำถามของนักศึกษา





วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้เรียนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้วคือ เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ วันนี้เรียนในหัวข้อที่ 3 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

ให้เด็กเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระมากที่สุด คือ ให้เด็กได้ทำคนเดียว เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัวหรือกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
ทำให้เด็กอยากช่วยเหลือตัวเอง อยากทำงานตามความสามารถ เด็กเขาจะเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่ ดังนั้นครูต้องจับคู่ให้เด็กพิเศษได้อยู่กับเด็กที่เก่งๆ

ความสำเร็จ
ความสำเร็จเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ การที่เด็กทำอะไรได้ด้วยตนเองทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจและเขาก็อยากจะทำสิ่งนั้น  ทำให้เขาเชื่อมั่นในตนเองและได้เรียนรู้ว่าความรู้สึกที่ดีเป็นยังไง

หัดให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง
    ไม่ควรช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น (ต้องใจแข็ง) เพราะผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เอง เราต้องให้เวลาเขา และไม่คววรพูดว่า "หนูทำช้า"   "หนูทำยังไม่ได้" และถ้าเด็กมาขอความช่วยเหลือเรื่องอะไรก็ควรทำให้แค่ตามที่เขาขอ ไม่ควรเลยเถิด

จะช่วยเด็กได้เมื่อไหร่
       เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้วเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการมักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
แบ่งทักาะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป

ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



                                                    กิจกรรมหลังการเรียน
                     
                                                            ต้นไม้รวมใจ

 



อุปกรณ์

-  สีเทียน
-  กระดาษร้อยปอนด์


วิธีดำเนินกิจกรรม

แจกกระดาษให้เด็กคนละ 1 แผ่น ให้ใช้สีเทียนวนเป็นรูปวงกลม  โดยเริ่มจากวงเล็กๆ กลางกระดาษโดยใช้สีตามใจชอบ 

     กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่จะสะท้อนอารมณ์และนิสัยของเด็กแต่ละคนได้ว่ามมีนิสัยเป็นอย่างไร  โดยสังเกตจากการใช้สี


หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ก็สอนร้องเพลง 5 เพลง ดังนี้

เพลง  นกกระจิบ

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

นั่นนก  บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  67 8 9 10 ตัว

เพลง  เที่ยวท้องนา

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน


ฉันท่องเที่ยวไป  
ผ่านตามท้องไร่ทองนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว  6 7 8 9 10 ตัว

เพลง แม่ไก่ออกไข่

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วัน ไข่ได้ 1 ฟอง

เพลง  ลูกแมว 10 ตัว

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมวอีก 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ็อก บ็อก
 แมวก็ร้อง เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ 

(ซ้ำ *)

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 12.20น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


การเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
•เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
ถามหาสิ่งต่างๆไหม
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/การพูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
ติดอ่าง

การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
ข้อนี้ก็สำคัญในการฝึกทักษะของเด็ก ดังนั้นครูหรือผู้ปกครองควรทำตามหัวข้อต่อไปนี้
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด” 
อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
 -  ทักษะการรับรู้ภาษา
 -  การแสดงออกทางภาษา
 -  การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด


พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
















พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูดคอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

                                                     กิจกรรมหลังการเรียนการสอน
                                                            ลากเส้นตรงต่อเติมสี

                                                               


อุปกรณ์
-กระดาษร้อยปอนด์
-สีเทียน

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
    ให้เด็กจับคู่กัน ครูอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรมแล้วค่อยแจกอุปกรณ์ให้เด็ก โดยแจกสีเทียนเด็ก
คนละ 1 เท่ง ให้เด็กลากเส้นตรง ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมครูก็จะเปิดเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย
สบายๆ  ให้เด็กลากเส้นไปเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะจบ หลังจากที่เด็กแต่ละคนลากเส้นตัดกันไปมากับเพื่อนก็จะมีช่องว่างเกิดขึ้น ให้เด็กช่วยกันระบายสีตามช่อง ดังภาพค่ะ